สภาผู้ส่งออกสหรัฐหนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน-ยืดหยุ่น ระหว่างสหรัฐ-ไทย

สภาส่งออกสหรัฐหนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน-ยืดหยุ่น ระหว่างสหรัฐ-ไทย

สภาผู้ส่งออกแห่งสหรัฐอเมริกา หนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน-ยืดหยุ่น ระหว่างสหรัฐ-ไทย รวมถึงพลังงานสะอาด-อิเล็กทรอนิกส์

วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นาย Mark Ein ประธานสภาผู้ส่งออกแห่งสหรัฐอเมริกา และนาย Rosalind Brewer รองประธานสภาผู้ส่งออกแห่งสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำรายงานการนำคณะสมาชิกสภาผู้ส่งออกแห่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หรือ President’s Export Council (PEC) เดินทางเยือนประเทศไทย โดยนางจีน่า ไรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา เมื่อ 13-15 มีนาคมที่ผ่านมา ถึงนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพื่อเปิดโอกาสการขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันในหลากหลายด้าน

เช่น อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสะอาด และการส่งเสริมความเข้มแข็งของ Supply Chain นั้น ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศมีความมั่นคง และมีแนวโน้มที่จะขยายตัว

โดยประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 18 ของสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าทางการค้าถึง 72.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 และมูลค่าทางการค้าบริการถึง 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2565 มูลค่าการลงทุนของประเทศไทยในสหรัฐอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้สร้างมูลค่าการส่งออกถึง 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Advertisment

คณะสมาชิก PEC ยังได้เห็นถึงความสำคัญ บทบาท และศักยภาพ ผ่านการทูตเชิงพาณิชย์ และการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันล้ำค่ากับไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและอุตสาหกรรม ที่ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสหรัฐและไทยในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น เช่น เมืองอัจฉริยะ เครือข่ายการขนส่งสีเขียว และโครงการพลังงานทดแทน, การอำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนของสหรัฐในภาคส่วนที่ประเทศไทยระบุเป็นอุตสาหกรรมที่จะขยายตัว รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ,

การสนับสนุนอุตสาหกรรมด้านการเงิน การท่องเที่ยวดิจิทัล และความปลอดภัยด้านไซเบอร์ ที่จะแสดงให้เห็นถึงโอกาสมากมายในการเจริญเติบโตของนวัตกรรมใหม่ ๆ ภายในเศรษฐกิจไทย, การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนากรอบการกำกับดูแลที่ส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงินดิจิทัลและรับประกันการคุ้มครองผู้บริโภคและความมั่นคงทางการเงิน,

Advertisment

การริเริ่มโครงการด้านการท่องเที่ยวดิจิทัล ที่ใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูล การปรับเปลี่ยนเฉพาะบุคคล และการตลาดดิจิทัลเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และปรับปรุงประสบการณ์การท่องเที่ยว เน้นแนวทางปฏิบัติด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของประเทศไทย, การสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ครอบคลุมภาคการเงินดิจิทัลและการท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างขั้นตอนสำหรับการปกป้องข้อมูล การป้องกันการฉ้อโกง และการตอบสนองฉุกเฉินต่อเหตุการณ์ทางไซเบอร์,

การดำเนินโครงการที่ครอบคลุมเป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ทันสมัย ตั้งแต่อนุบาล ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรมสายอาชีพ และยกระดับทักษะสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล และเน้นการสร้างโอกาสสำหรับผู้หญิง และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสาขา STEM

รวมถึงการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางวิชาการที่มีอยู่ เพื่อขยายเงินทุนและการสนับสนุนสำหรับโครงการที่คล้ายกัน ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมถึงทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนไทยเพื่อศึกษาในสหรัฐ การฝึกงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญชาวไทยในบริษัทของสหรัฐ และโครงการความร่วมมือทางวัฒนธรรมที่กระชับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความเข้าใจ และความเคารพระหว่างสองชาติ

นอกจากนั้น ยังมีคำแนะนำการค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้เน้นการประสานงานร่วมกัน เช่น การหารือทวิภาคี โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุข้อตกลงทางเศรษฐกิจ และลดอุปสรรคทางการค้า เสริมสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมแก่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม ให้ความสำคัญกับมาตรฐานแรงงาน โดยเฉพาะในด้านสิทธิแรงงาน พร้อมสนับสนุนการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี และความยั่งยืนในไทย

เช่น พลังงานสีเขียว เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของผลประโยชน์ร่วมของทั้ง 2 ฝ่าย และด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนวัตกรรมใหม่ ๆ จะมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของประเทศไทย ในฐานะหุ้นส่วนหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศักยภาพของธุรกิจในสหรัฐในการสนับสนุนเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

รวมถึงการนำระบบศุลกากรดิจิทัล และการอำนวยความสะดวกทางการค้าไปใช้ และร่วมมือกันในโครงการที่มุ่งเป้าไปที่การทำให้กระบวนการศุลกากรเป็นดิจิทัล เพื่อเร่งกระบวนการทางการค้า ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ จัดตั้งคณะทำงานทวิภาคี เพื่อปรับมาตรฐาน และข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินค้า และบริการได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้สามารถขยายไปสู่มาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ที่จะเป็นกุญแจตัวสำคัญในการขับเคลื่อนข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจนั้น และเน้นย้ำศักยภาพของไทยที่จะไต่ขึ้นมาเป็น Digital Hub นั้น รัฐบาลได้สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญ อย่างเช่น เครือข่าย 5G ศูนย์ข้อมูล และอื่น ๆ ทั่วประเทศไทย รวมถึงยังมีความร่วมมือเพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญ เสริมสร้างระบบกำกับดูแลข้อมูล/AI แบ่งปันข่าวกรองเกี่ยวกับภัยคุกคาม และพัฒนาความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

ซึ่งรัฐบาลไทยมองว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นหนทางในการกระจาย Soft Power ของประเทศไทยทั่วโลกให้สูงสุด และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมของทั้ง 2 ตลาดนั้น ทั้ง 2 ประเทศจะส่งเสริมความร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เช่น กีฬา การท่องเที่ยว อาหาร แฟชั่น ภาพยนตร์ ต่อไป

ขณะที่ภารกิจหลักของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งนั้น ได้เร่งการดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐ และยกระดับทางเศรษฐกิจของไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปสหรัฐถึง 2 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือน เพื่อพบปะกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยพร้อมเปิดรับและให้โอกาสแก่นักลงทุนต่างชาติอย่างเต็มที่ หรือ Open for Business

ทั้งนี้ การลงทุนในไทยจากสหรัฐมีมูลค่าอยู่ที่ 15.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้นำมาสู่ประโยชน์แก่เศรษฐกิจของไทย และได้สร้างอาชีพที่มีรายได้ดีแก่ประชาชน ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากสหรัฐในไทยส่วนใหญ่จะเน้นไปทางด้านการผลิต วิทยาศาสตร์ การบริการทางด้านเทคโนโลยี และการค้าส่ง

ดังนั้น ในการการเยือนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา และคณะสมาชิกสภาผู้ส่งออกแห่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หรือ PEC ดังกล่าว ได้ให้ความรู้ และมีผลที่เป็นรูปธรรม โดยรัฐบาลสหรัฐสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก และความเชี่ยวชาญของภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่มีพลวัตระหว่างสหรัฐและประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่สำคัญ

ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทยได้ย้ำว่าประเทศไทย “เปิดกว้าง และเปิดรับสำหรับธุรกิจ” และตลอดการเยือนของสมาชิก PEC ในการเยือนครั้งนี้ได้เห็นพลังของการทูตเชิงพาณิชย์ และการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนโดยตรง