กฟผ. เปิดบ้านจัดงาน the Journey to Business Solutions ชูนวัตกรรม ‘BackEN EV’ ผู้ช่วยบริหารสถานีชาร์จอีวีครบวงจร

หนึ่งในกลไกที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ คือการตั้งเป้าผลิตรถ Zero Emission Vehicle หรือรถที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ตามมาด้วยนโยบายกระตุ้นให้คนไทยเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น คู่กับโครงสร้างพื้นฐานอย่างสถานีชาร์จ เพื่อรองรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่นับวันก็เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT จึงขยายบทบาทจากการเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน มาร่วมขับเคลื่อนการสร้างระบบนิเวศด้านยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Ecosystem) ผ่านหน่วย EGAT EV Business Solutions พร้อมกับเปิดตัวธุรกิจชาร์จยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ‘EleX by EGAT’ เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2564 หลังจากออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการผ่าน ‘EGAT EV Business Solution’ ประกอบด้วย EleX by EGAT สถานีชาร์จอีวีที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย, EleXA แอปพลิเคชั่นที่ทำให้การใช้อีวีเป็นเรื่องสะดวกง่ายดาย, EV Customer Service บริการดูแลลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ฯลฯ  ล่าสุดกับ BackEN EV นวัตกรรมระบบบริหารจัดการอัจฉริยะที่เป็นเสมือนผู้ช่วย สามารถตรวจสอบรายได้แบบเรียลไทม์ พร้อมรายงานสรุปยอดขาย ที่พร้อมให้บริการสำหรับผู้สนใจธุรกิจสถานีชาร์จอีวี

เป็นที่มาของงาน ‘EGAT EV: the Journey to Business Solutions’ จัดขึ้น ณ อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ในรูปแบบของงานสัมมนาสำหรับผู้สนใจธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมเปิดให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตลาดอีวีอย่างครบวงจร เช่น การลงทุนในธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องเริ่มต้นหรือมีการบริหารจัดการอย่างไร โดยมีทีม EGAT EV Business Solution มาให้คำแนะนำ และการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงจากกลุ่มผู้บริการสถานีชาร์จอีวี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ใช้บริการ Total Solutions ในการออกแบบและติดตั้งสถานีแบบครบวงจร รูปแบบโมเดลการลงทุนติดตั้งที่เหมาะสม และผลตอบแทนจากการลงทุน

เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวถึง ภารกิจสำคัญของ กฟผ. นอกจากดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าให้กับประเทศไทยแล้ว ยังมีการสนับสนุนนโยบายภาครัฐในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านพลังงานโดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางด้านไฟฟ้า อย่างเช่น นโยบายพลังงาน 4D 1E ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทในยุคของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ทำให้แต่ละประเทศตั้งเป้าหมายเรื่องของการลดคาร์บอน “จากนโยบายภาครัฐถึงเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ทำให้มีสัดส่วนการใช้รถอีวีเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ อีกทั้งกำหนดให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้มีการพัฒนาธุรกิจด้านนี้มากขึ้น กฟผ. จึงเป็นกลไกภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มสถานีชาร์จ มาจนถึงปัจจุบันนี้ คนใช้รถอีวีมีมากขึ้น นอกจากต้องมีจำนวนสถานีชาร์จเพื่อรองรับแล้ว ผู้ใช้รถยังต้องการความสะดวกสบายในการใช้บริการ เราจึงพัฒนาแอปพลิเคชั่น EleXA สามารถจองใช้บริการที่สถานีชาร์จได้ล่วงหน้า รู้ตำแหน่งสถานี โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายต่างๆ” เมื่อความต้องการของผู้ใช้งานมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงตามมาด้วยการพัฒนา BackEN EV ระบบบริหารจัดการอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ ช่วยซัพพอร์ตหรือให้ข้อมูลต่างๆ นับเป็นวิวัฒนาการของ EGAT EV Business Solution ผู้ว่าการ กฟผ. ย้ำความสำคัญของงานในวันนี้ว่า เป็น Open House EGAT EV รวบรวมธุรกิจที่อยู่ในซัพพลายเชน เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการหรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ เนื่องจากความต้องการของแต่ละคนแต่ละธุรกิจนั้นมีความพร้อมไม่เหมือนกัน

Advertisment

พิชิต พงษ์ประเสริฐ หัวหน้าหน่วยงาน EGAT EV Business Solutions กล่าวเสริมถึงความคืบหน้าของสถานีชาร์จอีวี EleX by EGAT จนถึงปัจจุบันมี 160 สถานี และมีเป้าหมายที่จะขยายให้ได้จำนวน 364 สถานีภายในสิ้นปี 2567 พร้อมกับอธิบายความแตกต่างหากเปรียบเทียบกับสถานีชาร์จอีวีอื่นๆ ว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับการเป็นสถานีที่คนพึ่งพาได้ เมื่อไปถึงแล้วจะต้องใช้งานได้ เช่นเดียวกับการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดูแลเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน จึงมีการทุ่มเทสรรพกำลังในเรื่ององค์ความรู้และเทคนิค ทำให้สถานีชาร์จอีวี EleX by EGAT มีความพร้อมอย่างมาก

“ต้องการให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าเมื่อเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า แล้วจะต้องสะดวกสบายในการชาร์จ แม้ว่าจะมีบางอุปสรรคที่ทำให้หลายคนไม่กล้าเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า ส่วนหนึ่งมาจากการได้เห็นบางค่ายปรับลดราคาลงมามาก ทำให้คนไม่มั่นใจว่าทันทีที่ซื้อแล้วราคาจะปรับลงอีกหรือไม่ แต่จากการสอบถามผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง พบว่าเป็นความต้องการใช้เพื่อทำธุรกิจ จากเดิมที่ต้องขับรถจากภูเก็ตไปเชียงรายทุกสัปดาห์ แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าพลังงานลงถึง 5 เท่า จึงเชื่อมั่นได้ว่า เทรนด์ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะมุ่งไปสู่ภาคธุรกิจมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่า เพราะช่วยให้ต้นทุนทางธุรกิจลดลง”พิชิตให้ความเห็นถึงผู้ที่ลงทุนสถานีชาร์จอีวีส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจเดิมที่มีอยู่ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร หรือคอมมูนิตี้มอลล์ เพื่อให้สถานีชาร์จอีวีเป็นเสมือน facility ซึ่ง กฟผ.ทำสถานีชาร์จอีวีมาแล้ว 3-4 ปี ได้รู้ว่าอุปสรรคของผู้ประกอบการบางท่านคืออะไร สามารถให้ความรู้และคำแนะนำกับผู้ที่สนใจจะลงทุน เพราะบางจุดก็อาจจะไม่เหมาะสมกับการทำสถานีชาร์จ“ปัจจุบันเรามีผู้ประกอบการโรงแรมและสถานที่อื่นๆใช้บริการ EGAT ประมาณ 70 รายอีกทั้งยังมีผู้ติดต่อเข้ามาตลอด ทั้งนี้ ประสบการณ์ของ กฟผ.จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้เห็นว่าแผนการลงทุนนั้นคุ้มค่าหรือไม่ รวมทั้งแอปพลิเคชั่น EleXAที่มียอดดาวน์โหลดกว่าแสนราย เท่ากับเป็นการเพิ่มการมองเห็นในส่วนของสถานีชาร์จอีวี”

Advertisment

หนึ่งในผู้ประกอบการสถานีชาร์จอีวี EleX by EGAT พินัย ดำดวน เล่าประสบการณ์ว่า ลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัทเพราะต้องการลงทุนธุรกิจของตัวเอง โจทย์คือต้องเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก สร้างรายได้แบบ Passive Income ประกอบกับช่วงนั้นรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทยเริ่มเป็นกระแสมากขึ้น จึงมองว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้ามีความน่าสนใจ “ใช้เวลาค้นคว้าศึกษาข้อมูลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 1 ปีเต็ม เริ่มสนใจธุรกิจสถานีชาร์จซึ่งเวลานั้นในเมืองไทยยังมีน้อยมาก แล้วก็พบว่าสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EleX by EGAT กำลังเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนรายย่อย และมีแอปพลิเคชัน EleXA ค้นหาสถานี กับระบบบริหารจัดการ BackEN EV จึงได้ตัดสินใจลงทุนเปิดสถานีชาร์จอีวี EleX by EGAT ไซส์ M DC ขนาด 60 กิโลวัตต์ ที่คอมมูนิตี้มอลล์แห่งหนึ่งในหมู่บ้านเมืองเอก รังสิต ซึ่งมีร้านอาหารและคาเฟ่”

ธุรกิจสถานีชาร์จอีวีของพินัยเปิดตัวเมื่อต้นปี 2566 เขาบอกว่า ผลตอบรับดีมาก กลุ่มลูกค้ามีทั้งลูกบ้านของหมู่บ้าน คอนโด นักศึกษา คนที่มาร้านอาหารหรือคาเฟ่ ลูกค้าหลายคนที่บ้านมี EV Charger แต่ก็ยังมาใช้บริการ เพราะชั่วโมงที่ใช้ช่วงกินอาหารจะพอดีกับระยะเวลาการชาร์จ “จากการควบคุมสถานีด้วยระบบบริหารจัดการ BackEN EV และใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน EleXA ทำให้ไม่ต้องใช้เวลาไปที่สถานี เพราะสามารถมอนิเตอร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากนั้นทุกสิ้นเดือนก็ได้รับเงินจากแอป โดยช่วงที่เริ่มต้นคิดไว้ว่าน่าจะได้คืนทุนไม่เกินภายใน 4 ปี แต่วันนี้ไม่ใช่แล้วเพราะมีรถ EV เพิ่มขึ้นมาก จำนวนสถานีชาร์จที่ให้บริการก็ยังมีน้อย หากเปรียบเทียบโมเดลดียวกัน ถ้าจะลงทุนในปัจจุบันก็ใช้เงินน้อยกว่าเมื่อ 1-2 ปีก่อน จึงมีแผนที่จะขยายสถานีชาร์จเพิ่ม มั่นใจว่าธุรกิจนี้เป็นโอกาสที่ดี” และยิ่งหากพิจารณาจากยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย เพียงไตรมาสแรกของปีก็มีจำนวนถึง 22,289 คัน บอกถึงเมกะเทรนด์ที่นับวันยิ่งมาแรง การเปิดสถานีชาร์จรถไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจไม่น้อย สำหรับผู้สนใจ สามารถติดต่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ EV กฟผ. ฟรี และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง LINE OA: @BackenEV https://egatev.egat.co.th หรือ FB Page: EGAT EV

#EGATEV #ElexbyEGAT #EleXA #BackENEV #EVBusinessSolutions