กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ชูควายไทยต่อยอด Soft Power ด้านวัฒนธรรม

กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ชูควายไทย สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด ต่อยอดการเป็น Soft Power ด้านวัฒนธรรมตามนโยบายของรัฐบาล กระตุ้นรายได้ทางการท่องเที่ยวให้กับประเทศโดยรวม

วันที่ 3 มิถุนายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงการจัดงาน “Thailand Buffalo Heritage ควายไทย มรดกไทย” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2567 ณ ลานหลังวัดมหาธาตุและวัดหลังคาขาว อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า

งานดังกล่าวจัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ เพื่อผลักดันและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้วยการนำควายไทยที่มีความผูกพันกับชาวนาไทยมาอย่างยาวนาน มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด และต่อยอดในการเป็น Soft Power ด้านวัฒนธรรมตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวให้กับประเทศโดยรวม

นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้วยการนำควายไทยที่มีความผูกพันกับชาวนาไทยมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นวิถีชีวิตที่โดดเด่นและเป็นเสน่ห์ไทย การจัดแฟชั่นโชว์ควายไทยที่มีชื่อเสียงและมีมูลค่าสูง ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ ลักษณะควายไทยที่มีความสวยงาม

Advertisment

โดยนำเสนอแฟชั่นยุคสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่สื่อให้เห็นถึงความผูกพันของควายไทยกับวิถีชีวิตของคนไทย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติต้องการเข้ามาสัมผัสและเรียนรู้สร้างประสบการณ์กับแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านควายในพื้นที่ต่าง ๆ สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดมาต่อยอดการเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้านวัฒนธรรมตามนโยบายของรัฐบาล สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวให้กับประเทศโดยรวม

สำหรับการจัดงาน “Thailand Buffalo Heritage ควายไทย มรดกไทย” ในครั้งนี้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความเหมาะสมและมีความพร้อมในการจัดงาน ด้วยการเดินทางที่สะดวก ใกล้กรุงเทพฯ อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทย สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากไทย และต่างประเทศจำนวนมาก สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในจังหวัดได้มหาศาล

และยังต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจผ่านวัฒนธรรม Soft Power อาทิ การท่องเที่ยวโบราณสถานตามรอยละครดัง พรหมลิขิต ซึ่งยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534, การช็อปปิ้งเลือกซื้อ “สายไหม” ขนมขึ้นชื่อของจังหวัด ที่แม้แต่ลิซ่ายังลิ้มลอง

และล่าสุดกับ “ควายไทย” อีกหนึ่ง Soft Power ของไทยที่ปัจจุบันนี้มีผู้ที่ให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความนิยมเลี้ยงและเพาะพันธุ์มากขึ้น สามารถเพิ่มมูลค่าและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรปศุสัตว์ไทยได้หลายล้านบาท อีกทั้งยังมีการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้วยการนำควายไทยที่มีความผูกพันกับชาวนาไทยมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นวิถีชีวิตที่โดดเด่นและเป็นเสน่ห์ของไทย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์กับแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านควายในพื้นที่ต่าง ๆ อีกด้วย

Advertisment

ขณะเดียวกัน ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น การแสดงแสง สี เสียง ชุด “มนต์เสน่ห์ ควายสยาม” และการเดินแฟชั่นโชว์ควายไทย ที่มีชื่อเสียง และมีมูลค่าสูง ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยการแสดงจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ชุด ดังนี้

  • ชุดที่ 1 น้องทุยเผือกมงคลชีวิต – เล่าถึงความเป็นมาของน้องควายที่ผูกพันกับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะควายเผือกในสมัยอยุธยาที่นิยมมอบควายเผือกเป็นของกำนัน เวลาได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง เพราะถือว่าเป็นสัตว์มงคล
  • ชุดที่ 2 ไอ้ทุย ตัวละครเอก – คนไทยถือว่าควายเป็นสัตว์มีคุณ เป็นทั้งเพื่อน และสัตว์เลี้ยง โดยนักเขียนนวนิยายชื่อดัง ยังนำควายมาเป็นตัวละครเอกในเรื่อง ที่สร้างชื่อเสียงมากมายหลายเรื่อง เช่น มนต์รักลูกทุ่ง บางระจัน เป็นต้น
  • ชุดที่ 3 อนุรักษ์ควายไทย – ปัจจุบันการเลี้ยงควายต่างจากอดีตเป็นอย่างมาก ซึ่งแต่ก่อนเราจะเลี้ยงควายเพื่อใช้งาน แต่ในปัจจุบันเราเลี้ยงเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้น และมีการจัดประกวดน้องควายชิงถ้วยรางวัลมากมาย จนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และเพื่อผลักดันให้เป็น Solf Power ในอนาคต
  • ชุดที่ 4 แฟชั่นไทย แฟชั่นควายไทย – พบกับการเดินแฟชั่นโชว์ของคนกับควาย เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าการอนุรักษ์ควายไทย ให้อยู่คู่กับประเทศชาติไทยไปชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งการเดินแฟชั่นโชว์ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วยการเดินแฟชั่นโชว์ทั้ง 4 ชุด ดังนี้ ชุดนักเลี้ยงควายไทยในปัจจุบัน ชุดมนต์รักลูกทุ่ง ชุดบางระจัน และชุดไทยสมัยก่อน (ออเจ้า)

อย่างไรก็ดี ยังมีการถ่ายรูปและกระทบไหล่ใกล้ชิดกับเซเลบน้องควายชื่อดังจากทั่วประเทศ ซึ่งบางตัวมีมูลค่าสูงมากกว่า 10 ล้านบาท, ช็อปสินค้าผลิตภัณฑ์จากควาย, ชิม บูทจำหน่ายอาหาร, ชม นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับควายไทย, ร่วมสร้างสีสันภายในงานกับการแต่งกายสไตล์คาวบอยไทยประยุกต์ และการชมการแสดงโขนสุดพิเศษยิ่งใหญ่ตระการตาที่หาชมได้ยากในปัจจุบันนี้

ทั้งนี้ การแข่งขันการประกวดควายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชิงถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปศุสัตว์ไทยสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาสายพันธุ์ให้มีมูลค่าสูงยิ่งขึ้น และสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจปศุสัตว์ไทยไปไกลระดับโลกได้ ให้สมกับที่เป็นหนึ่งใน Soft Power กับความภาคภูมิใจของคนไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง