“นายกฯ” ควง “อุ๊งอิ๊ง” เปิดงาน THACCA SPLASH-SOFT POWER FORUM

เศรษฐา อุ๊งอิ๊ง

“นายกฯ” ควง “อุ๊งอิ๊ง” เปิดงาน THACCA SPLASH-SOFT POWER FORUM ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

วันที่ 28 มิถุนายน 2567 เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน THACCA SPLASH-SOFT POWER FORUM 2024 โดยมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ต้อนรับ มีรัฐมนตรีและตัวแทนซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่าง ๆ เข้าร่วมงาน อาทิ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา นางสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ น.ส.จิราพร สินธุไพร น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม โดยนายกฯพร้อมคณะ เดินชมนิทรรศการ 11 อุตสาหกรรมของซอฟต์พาวเวอร์ อาทิ อุตสาหกรรมกีฬา มวยไทย อุตสาหกรรมเฟสติวัล

นายเศรษฐากล่าวว่า มีความยินดีที่ได้มาเปิดงาน THACCA SPLASH-SOFT POWER FORUM 2024 ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลที่จะสร้างเวทีการรวมพลังของทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ที่เป็นหนึ่งในโครงการเรือธงของรัฐบาล โดยที่มาที่ไปของนโยบายนี้ เกิดจากความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ที่โครงสร้างเศรษฐกิจของเราเติบโตจากภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ที่มีคนเกี่ยวข้องทำงานอยู่จำนวนมาก

เช่น แรงงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เกษตรกร งานในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้ จำนวนไม่น้อยเป็นแรงงานที่ใช้ทักษะต่ำ ต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ฤดูกาล ที่ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่มีความไม่แน่นอน และส่งผลกระทบไปสู่สถานะทางการเงินของครอบครัวระดับประเทศ แสดงออกมาเป็นปริมาณหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่สูงกว่า 90%

Advertisment

นายเศรษฐา

โครงสร้างเศรษฐกิจไทยต้องได้รับการยกระดับการใช้แรงงานทักษะต่ำ หันไปใช้ความมันสมองและความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคของ Digital Age และงานที่ให้มูลค่ากับฝีมือมากยิ่งขึ้น ซึ่งงานนี้ต้องการทักษะขั้นสูง ใช้ระยะเวลานานในการฝึกฝน เช่น การเขียน Code เป็นต้น รัฐบาลจึงเล็งเห็นการผลักดันยุทธศาสตร์ Soft Power ให้เป็นอุตสาหกรรมที่คนไทยทั้งหมด สามารถมีส่วนร่วมได้ ด้วยศักยภาพของทุกคน ที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรม ฝีมือ และเวทีในการแสดงออก

นายเศรษฐากล่าวอีกว่า เป้าหมายใหญ่ของงานครั้งนี้ คือ “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้” เพื่อให้คนไทยอยู่ดีมีสุข และทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญก้าวหน้า และปักหมุดใน 3 สร้าง คือ สร้างแรงบันดาลใจ ให้ทุกคนตระหนักถึงศักยภาพของตนเอง สร้างเวทีแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม Soft Power ของไทยผ่านการเรียนรู้ Case Study ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ และสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางถึงพลัง Soft Power ไทย ให้สื่อสารทุกทิศทางอย่างทรงพลัง

เปรียบเสมือนการสาด หรือ SPLASH เราจะเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างครบวงจรตั้งแต่การพัฒนาต้นน้ำถึงปลายน้ำ ต้นน้ำ ต้องเริ่มจากการพัฒนาคน ที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าโครงการ 1 ครอบครัว 1 Soft Power (OFOS) ที่จะเฟ้นหาศักยภาพของทุกครอบครัว บ่มเพาะและพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรม ยกระดับให้เป็นแรงงานทักษะสูง กลางน้ำ จะออกกฎหมายตั้งหน่วยงาน THACCA ซึ่งทำหน้าที่เป็น One-stop Service คอยผลักดันอุตสาหกรรม Soft Power ต่าง ๆ ทั้ง 11 ด้าน

Advertisment

เช่น การวิเคราะห์ตลาด สำรวจกฎระเบียบที่อาจจะเป็นอุปสรรค และส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรม การแข่งขัน ในประเทศ และในขั้นปลายน้ำจะกำหนดแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน ประสานกับต่างประเทศ เพื่อนำ Soft Power ของไทย ไปเผยแพร่ในตลาดให้มากยิ่งขึ้น

นายเศรษฐา

โดย Soft Power สำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจที่จะมายกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศรายได้สูง โดยตัวชี้วัดที่สำคัญคือ การมีรายได้ต่อหัวประชากรกว่า 13,846 เหรียญสหรัฐต่อปี ตามหลักเกณฑ์ของ IMF ทั้งนี้รัฐบาลตั้งเป้าผลักดันอุตสาหกรรม Soft Power ทั้ง 11 สาขา

โดยนำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์กับทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของไทย เปิดกว้างสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความสนใจ รวมถึงเป็นเวทีแห่งโอกาสในการแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้ที่ประสบความสำเร็จในวงการอุตสาหกรรม Soft Power ระดับโลก

นายเศรษฐา

นายเศรษฐา

นายเศรษฐา