ประเสริฐ ชู 5 ยุทธศาสตร์ AI ไทย อัพเกรด สตาร์ตอัพ เป็น ยูนิคอร์น

ประเสริฐ

งานสัมมนา The Power of AI เกมใหม่ โลกเปลี่ยน “ประเสริฐ” รมว.ดีอีเอส ชู 5 ยุทธศาสตร์พัฒนา AI พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หวังปั้นสตาร์ตอัพกลายมาเป็นยูนิคอร์น

วันที่ 21 มิถุนายน 2567 ที่พารากอนฮอลล์ สยามพารากอน หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจจัดงานสัมมนาหัวข้อ The Power of AI เกมใหม่ โลกเปลี่ยน โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในหัวข้อ AI Transform ความท้าทายประเทศไทย ตอนหนึ่งว่า วันนี้ต้องยอมรับว่า AI เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว และในชีวิตประจำวันมักมีเรื่อง AI ตลอดเวลา

หากมองย้อนไปปี 2539 มองย้อนกลับไปในหลายปีที่ผ่านมา AI มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อ AI ปีก่อนเครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มสามารถตอนแรกคนชนะ แต่ตอนหลังเครื่องจักรชนะ เป็นครั้งแรกที่เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลสามารถทำในเรื่องที่ยากได้ดีกว่าสมองมนุษย์

ยังไม่นับรวมยุค Generative AI เป็นพัฒนาการอีกก้าวหนึ่งของ AI ที่สามารถสร้างข้อมูลเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาอะไรก็ได้ด้วยคำสั่งเสียงไปเป็นสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย ในชีวิตประจำวัน AI ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หลายอย่าง เป็นเครื่องมือในการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว เป็นการยกระดับการเรียนรู้ เป็นการสามารถสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล เพิ่มผลผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายประเสริฐกล่าวว่า มี 2-3 ตัวอย่างคือ AI เป็นพันธมิตรคนใหม่ในธุรกิจให้คำปรึกษา ช่วยทำให้ธุรกิจทำงานได้มากขึ้น ให้คำปรึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล สามารถเข้าใจปัญหา รวมถึงหน่วยงานรัฐก็สามารถทราบความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

Advertisment

AI เป็นผู้ช่วยคนใหม่ในธุรกิจการเงิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการพิจารณาการให้กู้เงินอัตโนมัติ ในอดีตธนาคารต้องใช้เวลาพอควรในการพิจารณาคำขอสินเชื่อ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลการเงินเอกสารประกอบ และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายด้วยตนเอง ปัจจุบัน AI ช่วยให้ธนาคารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว สามารถดูประวัติการชำระหนี้ พฤติกรรมการใช้จ่าย และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ธนาคารสามารถตัดสินใจอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอสินเชื่อได้รวดเร็วขึ้น

AI เป็นนวัตกรรมใหม่ในธุรกิจสร้างสรรค์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กำลังสร้างขึ้นยุคใหม่ในธุรกิจสร้างสรรค์ ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถปลดปล่อยศักยภาพและสร้างสรรค์ผลงานที่น่าที่ง เช่น การออกแบบโลโก้และสโลแกน การเขียนเนื้อหา การแต่งเพลง การสร้างภาพยนตร์ สร้างผลงานที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร และตรงกับความต้องการของลูกค้า ก้าวข้ามขีดจำกัดในอดีต

AI เป็นผู้ช่วยคนใหม่ในธุรกิจอาหาร เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการขายเพื่อคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าระบบการสั่งอาหารอัตโนมัติ การจัดการคลังสินค้า และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสูตรอาหารใหม่

คาดหวังไว้ว่าการสร้างโอกาสจาก AI และการขับเคลื่อนนวัตกรรมทุกภาคส่วนจะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ด้าน AI ให้กับประเทศไทยของเรา ขอใช้โอกาสนี้ได้กล่าวถึง 5 ยุทธศาสตร์สำคัญที่จำเป็นในการพัฒนาและการเติบโตของ AI ดังนี้

Advertisment

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI เรื่องดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์กลางภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย Go Cloud First Policy รวมทั้งการสร้างระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมการลงทุนใน Data Center และ AI เรื่องราคาพลังงานที่ถูกลง หรือแม้กระทั่งมาตรการด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุน เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ AI

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยี AI เป็นการพัฒนาข้อมูลเปิดรายสาขา เช่น การเกษตร การท่องเที่ยว สุขภาพ การให้บริการภาครัฐ และการเงิน ขณะนี้การส่งเสริมการพัฒนาแอปพลิเคชั่น AI ของไทยผ่านกองทุนเพื่อการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ ของกระทรวงดีอี

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากำลังคนด้าน AI วันนี้ต้องยอมรับว่าบุคลากรด้าน AI ในประเทศนั้นไม่เพียงพอ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเข้ากำลังคน กระทรวงดีอีโดย Depa ได้มีโครงการหลายโครงการเพื่อดึงคนที่มีความสามารถจากต่างประเทศเข้ามาด้วยวีซ่า เช่น Global Digital Talent Visa/Long Term Residence Visa รวมถึงคุยกับอีอีซี เพื่อมี EEC Visa เพื่อให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของ AI

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเร่งรัดการใช้งานเอไอ กระทรวงดีอีเอสส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ รวมทั้งการส่งเสริมเรื่องมาตรการสินเชื่อ เพื่อให้วิสาหกิจเหล่านั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนที่ถูกหลอกลวง สร้างความน่าเชื่อถือและโปร่งใส มีการตั้งศูนย์ธรรมาภิบาล AI โดย Etda เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบและจริยธรรมของเอไออีกครั้ง ทำให้ AI Application มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

จากยุทธศาสตร์ 5 ด้านขณะนี้กระทรวงดีเอได้มีโครงการที่สำคัญหลายเรื่องที่ดำเนินการ เพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งผมขอยกตัวอย่างในบางเรื่องที่กระทรวงกำลังดำเนินการอยู่ดังนี้

โครงการ Health Link เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทย สนับสนุนให้เกิดประโยชน์จากการใช้ข้อมูลในการแข่งขัน โดยการเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชน ได้ทำงานกับโรงพยาบาลเพื่อเชื่อมโยงข้อมูล ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ

โครงการ Thai Large Language Model เพื่อพัฒนาโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ เป็นการพัฒนาให้ภาษาไทยมีขีดความสามารถในการทำงานร่วมกับ AI ในอนาคต

โครงการ Strengthening Fruad Detection Ecosystem with Data Lab โครงการนี้จะออกแบบและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลของกลุ่มมิจฉาชีพทั้งหมด ที่เคยมีบัญชีธนาคาร บัญชีหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์สามารถทำได้ตามมาตรา 4 หรือมาตรการ CFR

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ AI จะส่งผลต่อภาครัฐ เอกชน ในประเทศเชื่อว่าภาครัฐจะได้ประโยชน์จากการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา ภาคเอกชนภาคธุรกิจอย่างเต็มที่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Start Up สามารถใช้ประโยชน์จาก AI New S curve และเติบโตขึ้นเป็นยูนิคอร์น AI จะช่วยทำให้งานตรงนี้สำเร็จได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กระทรวงจะต้องคำนึงถึง คือเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา AI ในประเทศ และเป็นหน้าที่ของกระทรวงดีอีที่ทำให้ AI พัฒนาได้ แต่จะไม่กำกับเข้มงวดจนเกินไป

“ผมเรียนทุกท่านว่า อย่ากังวลเรื่อง AI จะมาแย่งงานของมนุษย์ แต่ให้มองว่า AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และ AI เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ท้ายที่สุด แม้ AI จะพัฒนาการอย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ความสามารถของมนุษย์ สมองของมนุษย์ ยังมีความเหนือชั้นกว่า มีความสลับซับซ้อนในทุกมิติทางด้านการให้เหตุผลและด้านอารมณ์ มีมิติมากมายกว่าเครื่องจักร ผมเชื่อว่าสินค้าที่ผลิตโดยคน โดยฝีมือของมนุษย์ หรือที่เราเรียกว่า Handmade มีคุณค่าและราคามากกว่าสินค้าที่ผลิตในโรงงานต่าง ๆ ที่ใช้ AI เป็นเทคโนโลยีในการผลิต” นายประเสริฐกล่าว

นายประเสริฐเชื่อว่า “ภาพที่ AI สร้างขึ้นมาโดยคำสั่งของมนุษย์มีค่าน้อยกว่า ภาพที่เขียนโดยศิลปินดังระดับโลก เช่น วินเซนต์แวนโก๊ะ ที่เขียนมาด้วยชีวิตจริง แต่ AI ทำสิ่งเหล่านั้นผลิตงานจากดาต้าที่ได้รับมา แต่ศิลปินทำสิ่งเหล่านั้นจากชีวิตจริง ผมเชื่อว่าเพลงต่าง ๆ ที่ประพันธ์โดยนักดนตรี มีคุณค่ามากกว่าเพลงที่ AI แต่งขึ้น เพราะสามารถให้อารมณ์และความรู้สึกที่ดีกว่า เพราะฉะนั้น AI เป็นโอกาสและความท้าทายในหลาย ๆ เรื่อง แต่ในบางเรื่อง AI ยังไม่ใช่คำตอบในทุกเรื่อง ผมจึงหวังไว้ว่าเวทีประชาชาติธุรกิจในวันนี้จะเป็นเวทีที่ทุกคนได้รับประโยชน์จากการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างเต็มที่”

ประชาชาติธุรกิจ เสวนาพิเศษ “THE POWER OF AI”

ประชาชาติธุรกิจ เสวนาพิเศษ “THE POWER OF AI”

ประชาชาติธุรกิจ เสวนาพิเศษ “THE POWER OF AI”

AIS

 

ปฐมา จันทรักษ์
ปฐมา จันทรักษ์

dusit

ประชาชาติธุรกิจ เสวนาพิเศษ “THE POWER OF AI”

ประชาชาติธุรกิจ เสวนาพิเศษ “THE POWER OF AI”

ประชาชาติธุรกิจ เสวนาพิเศษ “THE POWER OF AI”

ประชาชาติธุรกิจ เสวนาพิเศษ “THE POWER OF AI”