AIS Business ชู 5 ขุมพลังดิจิทัล ดันขีดความสามารถไทย

ภูผา เอกะวิภาต
ภูผา เอกะวิภาต

“AIS Business” ผู้ให้บริการดิจิทัลโซลูชั่นสำหรับภาคธุรกิจ ประกาศขับเคลื่อนขีดความสามารถของไทย ผ่าน 5 ขุมพลังดิจิทัล พร้อมเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจ “AIS EEC” ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีของประเทศ

วันที่ 28 มิถุนายน 2567 นายภูผา เอกะวิภาต รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า ปี 2567 ยังเป็นปีที่ท้าทายจากผลกระทบของสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโลกและของไทย ทำให้ดิจิทัลกลายเป็น Norm ของการสร้างสรรค์ Business Model ที่แตกต่างในทุกธุรกิจ

“การจะเดินหน้าได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน จำเป็นอย่างมากที่จะต้องทรานส์ฟอร์มองค์กรด้วยดิจิทัลและเทคโนโลยี เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถใหม่ ๆ ที่พร้อมรับมือและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

โดย AIS Business ผู้ให้บริการดิจิทัลโซลูชั่นและ ICT สำหรับภาคธุรกิจ พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ด้วยการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์และหน่วยงานด้านนวัตกรรม รวมถึงสถาบันการศึกษา ผ่านการใช้งาน 5 ขุมพลังด้านดิจิทัล ได้แก่

1.5G Ecosystem ขุมพลัง 5G อัจฉริยะ

Advertisment

จากศักยภาพและคลื่นความถี่หลากหลายรูปแบบทั้ง Network Slicing และ Private Network เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ล่าสุดโรงงาน Midea Smart Factory ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ไฟฟ้ารายใหญ่ ได้เลือกใช้ AIS Dedicated 5G Private Network เป็นโครงข่ายหลัก

และด้วยศักยภาพของ Paragon Platform แพลตฟอร์มที่รวบรวมโซลูชั่น 5G เช่น 5G Network Orchestrator, MEC, Edge, Cloud, Application Ecosystem ทำให้มีกว่า 17 องค์กร ที่เริ่มใช้งานจริงแล้วเช่นกัน เช่น Mitsubishi Electric, Schneider Electric, AI and Robotics Ventures เป็นต้น

เอไอเอส

Advertisment

2.Intelligent Network and Infrastructure ขุมพลังแห่งโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ

ยกระดับการบริหารจัดการองค์กรและการประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็วและปลอดภัยในยุคปัจจุบัน พร้อมให้บริการตามความต้องการขององค์กร ตั้งแต่ On-Premise Cloud ไปจนถึงระดับไฮเปอร์สเกล พร้อมสร้างความร่วมมือกับ Oracle เพียงรายเดียวในประเทศไทย เพื่อให้บริการคลาวด์ที่สนับสนุนการบริหารจัดการสำหรับองค์กรที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีความพร้อมที่จะให้องค์กรต่าง ๆ สามารถแสดงความจำนงการใช้บริการศูนย์ GSA ดาต้าเซ็นเตอร์ จากความร่วมมือของ Gulf, Singtel และ AIS ขนาดกว่า 20 เมกะวัตต์ ก่อนเตรียมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2025

3.AI and Data Analytics ขุมพลังแห่งปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก

เปิดตัว “Analytic X” บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Data Insight) ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ในการวางกลยุทธ์และสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างตรงจุด

4.Digital Platform and APIs ขุมพลังแห่งการเชื่อมต่อ

สามารถเชื่อมต่อการทำงานได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง AIS Open APIs ของ GSMA และ CAMARA ที่ทำให้นักพัฒนา สามารถออกแบบบริการที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากขึ้น และ AIS CPaaS-Communication Platform as a service แพลตฟอร์มการสื่อสารบนคลาวด์ ที่ช่วยยกระดับการสื่อสารขององค์กร ให้สามารถสื่อสารได้แบบเรียลไทม์ ทั้งเสียง วิดีโอ และ SMS

โดย “ไปรษณีย์ไทย” ได้ใช้บริการนี้เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างบุรุษไปรษณีย์กับผู้รับผ่านระบบสมาร์ทคอล ที่นอกจากจะช่วยให้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการด้วย

เอไอเอส

5.Industry Transformation ขุมพลังการยกระดับภาคอุตสาหกรรม

สนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยเน้นให้ความสำคัญกับองค์กรในทุกระดับ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต, ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก, ธุรกิจ SMEs, องค์กรสาธารณะและภาครัฐ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ EEC จึงเป็นที่มาของการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ AIS ยังได้เปิดตัว AIS EEC-Evolution Experience Center หรือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจ AIS EEC แห่งแรกที่ตั้งอยู่ที่ Thailand Digital Valley ภายในพื้นที่ EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีโครงสร้างดิจิทัล 5G และ Platform

พร้อมเดินหน้ายกระดับทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีให้กับบุคลากรและตลาดแรงงานให้มีขีดความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ ผ่านการทำงานร่วมกับสำนักงานคณะทำงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC HDC ทั้ง 8 ศูนย์ผู้เชี่ยวชาญความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรม ได้แก่

1.ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Automation
2.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยว 3.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านยานยนต์ไฟฟ้า 4.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพาณิชย์นาวี
5.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแมคคาทรอนิกส์
6.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอากาศยาน
7.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์
และ 8.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี Digital AI & 5G

ภายใต้เครือข่าย 6 มหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ, วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ, สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และสถาบันไทย-เยอรมัน