เปิดเทคนิค 4V ทำคอนเทนต์สินค้า FMCG ให้เตะตาบน TikTok

4V-TikTok Shop

TikTok เผยเทคนิค 4V “Volume-Variety-Validity-Value” ทำคอนเทนต์สินค้าอุปโภค-บริโภค ให้ปังบนแพลตฟอร์ม รับเทรนด์ “Omni-Shopper” ซื้อสินค้าทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

วันที่ 27 มิถุนายน 2567 รายงานข่าวจาก TikTok ประเทศไทย เปิดเผยว่า “ติ๊กต๊อก” (TikTok) ได้กำหนดนิยามใหม่ในการทำการตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภค (FMCG : Fast-Moving Consumer Goods) ในประเทศไทย โดยผสมผสานความบันเทิงและการสร้างคอมมิวนิตี้ที่แข็งแกร่ง ซึ่งผู้บริโภคสามารถค้นพบและมีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันผู้บริโภคในประเทศไทยได้พัฒนาไปสู่การเป็น Omni-Shopper ลูกค้าสามารถเข้าถึงการซื้อสินค้าได้หลายช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยรายงานของ “The Omni-Shopper Revolution” จัดทำโดย “กันตาร์” (Kantar) ได้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในปัจจุบันที่ช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ได้รับความนิยมจากหมู่ผู้บริโภคชาวไทยมากขึ้น

ปัจจุบันครัวเรือนในประเทศไทยประมาณ 45% ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคทางออนไลน์เป็นหลัก ทำให้แบรนด์ต้องหันมาทำความเข้าใจะและให้ความสำคัญกับช่องทางการขายออนไลน์มากขึ้น

ทั้งนี้ ตลาดสินค้าอุปโภค-บริโภคเต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์มากมาย ทำให้แบรนด์สร้างความโดดเด่นได้ยากขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคยังมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแบรนด์เพื่อหาประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมถึงมองหาความคุ้มค่าและคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ แบรนด์จึงต้องทำคอนเทนต์นำเสนอสินค้ามากขึ้นเพื่อให้ถูกค้นพบโดยกลุ่มเป้าหมาย

Advertisment

ซึ่งคอนเทนต์ที่แสดงบนหน้าฟีดของ TikTok ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด และส่งอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากกว่าแค่การรับชมคออนเทนต์ สอดคล้องกับผลการสำรวจผู้บริโภคที่ Accenture Song ทำร่วมกับ TikTok ชี้ให้เห็นว่ากว่า 78% ของผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะรับชมคอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ บนแพลตฟอร์ม

โดยปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่ช่วยปลดล็อกโอกาสในการทำการตลาดผ่านการค้นพบคอนเทนต์บน TikTok ได้แก่

1.การเติบโตของคอมมิวนิตี้คอนเทนต์สินค้าอุปโภคบริโภคบน TikTok

ผู้ใช้งาน TikTok ให้ความสนใจกับคอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้าอุปโภค-บริโภคบนแพลตฟอร์มอย่างมีนัยสำคัญ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคอมมิวนิตี้คอนเทนต์ของสินค้าประเภทนี้มีการเติบโตสูงขึ้นในหลากหลายหมวดหมู่ เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนผลิตภัณฑ์ความงาม

2.สร้างสะพานเชื่อมระหว่างแบรนด์กับครีเอเตอร์และคอมมิวนิตี้

TikTok เชื่อมโยงแบรนด์กับคอมมิวนิตี้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับครีเอเตอร์ ช่วยให้แบรนด์และผู้บริโภคใกล้ชิดกันมากขึ้น ต่อยอดไปสู่การเติบโต โดย 83% ของผู้ใช้หันมาพิจารณาแบรนด์หรือสินค้าอุปโภค-บริโภคเพราะคอนเทนต์ของครีเอเตอร์ที่ค้นพบบนแพลตฟอร์ม

Advertisment

3.พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากการค้นพบสู่การกระทำ

พฤติกรรมของผู้บริโภคบน TikTok เปลี่ยนไปอย่างมากจากการค้นพบไปสู่การกระทำที่เป็นรูปธรรม โดย 90% ของผู้ใช้ที่ค้นพบแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคบน TikTok จะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากนั้นทันที แสดงให้เห็นถึงความสามารถของแพลตฟอร์มในการกระตุ้นการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้ง และผู้ใช้ 2 ใน 3 ตั้งใจเสิร์ชบน TikTok เพื่อค้นหาข้อมูลหรือสินค้าที่สนใจ

นางสาวสิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing, TikTok ประเทศไทย กล่าวว่า TikTok ได้กลายมาเป็นจุด “Eye-Level” ใหม่ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและสร้างผลลัพธ์ให้กับสินค้า FMCG ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ใช้ชาวไทยกว่า 92% ยกให้ TikTok เป็นพื้นที่แห่งความบันเทิงและการช็อปปิ้งที่ตนเองนึกถึง

“ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับภารกิจหลักของเรา ในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และมอบความสุขให้กับผู้คน พร้อมเปิดโอกาสให้ธุรกิจรายย่อยตลอดจนแบรนด์และเอเยนซี่สามารถใช้ TikTok เพื่อสร้างการเติบให้กับธุรกิจ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในไทยได้”

นอกจากนี้ รายงานยังระบุเคล็ดลับการทำคอนเทนต์สินค้า FMCG ให้ปังบน TikTok ผ่านเทคนิค “4V” ดังนี้

  • Volume : สร้างคอนเทนต์สม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญได้ถึง 1.5 เท่า
  • Variety : สร้างคอนเทนต์ในรูปแบบที่หลากหลาย
  • Validity : ใส่ใจกับความละเอียดของวิดีโอ ความยาวที่เหมาะสม ใช้ดนตรีดึงดูดความสนใจ และสร้างคอนเทนต์ในแนวตั้งแบบเต็มจอ
  • Value : ดึงข้อมูลเชิงลึกจาก TikTok Creative Center มาทำให้คอนเทนต์น่าสนใจมากขึ้น

Tips_Trick for developing FMCG content on TikTok_TH