“สันติธาร” ชี้ AI ตอบโจทย์เศรษฐกิจ-ธุรกิจ แนะไทยไม่อยากตกขบวนต้องเร่งทำ 3 ด้าน

ดร.สันติธาร เสถียรไทย
ดร.สันติธาร เสถียรไทย

“สันติธาร เสถียรไทย” เผยไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย เป็นโรงงานขาดแคลนแรงงาน ดึง AI เพิ่มผลิตภาพ ช่วยดันจีดีพีเพิ่ม 0.8% ต่อปี ชี้ไม่อยากตกขบวนต้องเร่งทำ 3 ด้านทั้งระดับประเทศ-องค์กร

วันที่ 21 มิถุนายน 2567 ดร.สันติธาร เสถียรไทย Future Economy Advisor สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวในงานสัมมนาประชาชาติธุรกิจ “THE POWER OF AI เกมใหม่ โลกเปลี่ยน“ ในหัวข้อเรื่องเสวนาพิเศษ “THE POWER OF AI” ว่า โจทย์ของเทคโนโลยแม้จะพัฒนา (Advance) แค่ไหน และจะตอบโจทย์ได้มากแต่ไหนขึ้นอยู่กับบริบทของเศรษฐกิจด้วย

ทั้งนี้ หากดูบริบทเศรษฐกิจไทยจะเห็นว่าอยู่ในสภาวะเข้าสูงสังคมสูงวัย เรากำลังขาดแคลนวัยแรงงาน เปรียบเหมือนโรงงานที่จะขาดแคลนแรงงาน และขาดแคลนมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากตัวเลขแรงงานติดลบแล้ว ซึ่งมองไปข้างหน้าอีก 10-20 ปี ไทยจะขาดแคลนแรงงานถึง 10-20 ล้านคน ซึ่งแตกต่างจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และอินเดีย ทำให้บริบทเศรษฐกิจแตกต่างกัน

ดังนั้น แนวทางแก้ไขของการจขาดแคลนแรงงาน ไทยจะต้องเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) คือ แรงงาน 1 คน จะต้องผลิตสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งหากไม่สามารถเพิ่มผลิตภาพได้ จะไม่สามารถสร้างหรือเพิ่มการเติบโตเศรษฐกิจไทย

โดยการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งจากข้อมูลโกลด์แมนแซคส์ ระบุว่า การนำ AI มาใช้จะช่วยการเติบโตของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นราว 1% สำหรับประเทศไทยจะอยู่ที่เฉลี่ย 0.7-0.8% ต่อปี จากระดับเศรษฐกิจที่ขยายตัวในปัจจุบันราว 3% อย่างไรก็ดี ตัวเลขจะเป็นไปตามคาดการณ์หรือไม่ จะขึ้นกับการปรับใช้ (Adoption)

Advertisment

ซึ่ง AI จะมีตัวแปรสำคัญ คือ 2A 2P คือ 1 A : Automatic มาแทนที่คน เช่น งานที่ต้องทำด้วยมือ เช่น งานเอกสาร 2A : Aucmentent ทำเก่งขึ้น เช่น แพทย์ เอามาช่วยวินิจฉัย หรือการลงทุน ที่ช่วยบริหารพอร์ต ส่วน 2P คือ 1P : Inclusion ทำให้คนที่เข้าไม่ถึงบริการสามารถเข้าถึงบริการได้ เช่น การแพทย์ สามารถพูดคุยกับผู้ป่วยห่างไกลหรือติดเตียงสามารถ และ 2P : Innovation สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เลย หรือแพทย์ที่นำมาใช้และสามารถวินิจฉัยมะเร็งได้

“2A2I สามารถเปลี่ยนเศรษฐกิจได้ แต่ความเสี่ยงของ AI อาจจะพูดไม่จบ แต่หากเราไม่เอามาใช้จะพลาดโอกาสและมีความเสี่ยงมาก ซึ่งปัจจุบันเป็นยุค AI แต่ปัญหาของบริษัทส่วนใหญ่ตอนนี้ยังเป็นปัญหาในยุคดิจิทัลอยู่”

ดร.สันติธารกล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้โลกกำลังเปลี่ยน ซึ่งหลายคนเปรียบเทียบกับ “คนเก่งกับคนไม่เก่ง” และ “บริษัทเก่งและบริษัทไม่เก่ง” แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนเป็น “คนที่ใช้ AI เป็น และคนใช้ไม่เป็น” หรือ “บริษัทที่ใช้ AI เป็นและบริษัทที่ไม่ใช้ AI” ดังนั้น ต่อไป บริษัทใหญ่ไม่จำเป็นต้องชนะเสมอไป แต่คนใช้ AI เป็น หากสามารถจับคลื่น (Wave) ได้จะเป็นโอกาส

Advertisment

ดังนั้น หากไทยไม่อยากตกขบวน จะมีด้วยกัน 3 ส่วนที่สามารถทำได้ทั้งระดับประเทศ หรือระดับองค์กร ได้แก่ 1.Demand จะเป็นเรื่องของ Use Case ซึ่งไม่จำเป็นต้องเริ่มจาก AI แต่มาแก้จุดด้อย (Pain Point) เช่น การศึกษา อาจจะนำมาปรับหลักสูตรการเรียนการสอน หรือนำมาช่วยอ่านหรือวิเคราะห์ว่าเด็กเรียนอ่อนด้านไหน เช่น ประเทศสิงคโปร์ที่นำมาปรับใช้แล้ว และกลุ่ม Health Care ภาครัฐ ที่นำมาปรับกระบวนการหรือการให้เร็วขึ้น

2.Supply จะเป็นเรื่องการให้ความรู้ Literacy ด้านความเสี่ยงและการใช้ประโยชน์จาก AI และ 3.สภาพแวดล้อม กฎ กติกาต่าง ๆ หรือด้านข้อมูล (Data) ระดับประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ได้นำข้อมูลด้านเขื่อน ซึ่งเปิดให้เอสเอ็มอีมาให้

“หากทำ 3 ด้าน ระดับประเทศก็ทำได้ ระดับองค์กรก็ทำได้เหมือนกัน หากไทยไม่อยากตกขบวน”