ภารกิจ NRF กำจัดขยะชีวมวล สู่ Net Zero 2030

อุตสาหกรรมผลิตอาหาร เป็น 1 ใน 3 ผู้ผลิตที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศที่สูงที่สุด ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ อาทิ PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และ
การอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ คาร์บอนไดออกไซด์ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปัจจุบันวิกฤตโลกร้อนมีภาวะที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากยังไม่มีการลุกขึ้นมาสร้างเปลี่ยนแปลงจะยิ่งส่งผลต่อ “การขาดแคลนอาหาร” เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถที่จะเพาะปลูกให้เพียงพอต่อความต้องการ หรืออาจจะนำไปสู่การขาดแคลนผลผลิตได้

ด้วยเหตุนี้ UN Global Compact Network Thailand เครือข่ายภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จึงชวนพูดคุยกับ “แดน ปฐมวาณิชย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ที่ตั้งเป้าทำอาหารเพื่อทุกคนที่สามารถสร้างความยั่งยืนแก่โลก และมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2030 โดยกำลังดำเนินการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาชีวมวลจากภาคเกษตรให้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้ NRF เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์ปรุงรส ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) Specialty Food 2) Direct-to-consumer และ
3) Climate Action Food

“แดน” กล่าวว่า NRF เป็นอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารที่ใส่ใจในกระบวนการการผลิตที่มีคุณภาพ และยังเป็นผู้ผลิตที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนการดูแลใส่ใจพนักงานทุกระดับ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืนไปร่วมกัน บริษัทมีเป้าหมายมุ่งสู่ net zero ภายในปี 2030 ซึ่ง
สอดรับกับการคาดการณ์ของ Paris Agreement ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5°C

เป็นเวลาหลายปีที่ NRF ปฏิบัติภารกิจมุ่งสู่ Net Zero โดยเดินหน้าในหลาย ๆ โครงการ เช่น แผนสร้างโรงงานทั้งในไทย และสหรัฐอเมริกาเพื่อกักเก็บคาร์บอนจากภาคการเกษตรในช่วงปลายปี 2568 และการพัฒนา Decarbonization ผ่านระบบการกำจัดขยะชีวมวล (Biomass) โดยไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการแปรรูป ของเหลือจากการเกษตรสู่ชั้นบรรยากาศ อีกทั้งยังเป็นส่วนช่วยดักจับคาร์บอนออกมาในรูปไบโอชาร์ (BioChar)

“ภารกิจ Net Zero ของเราดำเนินมา 3 ปีซ้อน ทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกระบวนการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรโดยตรง (scope 1) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ที่มาจากการที่องค์กรซื้อพลังงานมาใช้ ซึ่ง NRF ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เยอะอยู่แล้ว แต่ยังมีส่วนที่เหลือ 5-6 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี ที่บริษัทพยายามทำให้เท่ากับ Net Zero ภายใน 2-3 ปีจากนี้ โดยวิธีการจะไม่ได้แค่ซื้อคาร์บอนเครดิต แต่เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในซัพพลายเชนด้วยการดักจับคาร์บอน

Advertisment

ผมเรามองว่าในฐานะบริษัทผลิตอาหารที่ส่งออกสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในยุโรปเป็นหลัก โดยมีคู่ค้าเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งซูเปอร์มาร์เก็ตที่ฝั่งอเมริกาและยุโรปต่างก็เป้า Net Zero ภายในปี 2030 ดังนั้น ถ้า NRF ทำ Net Zero ได้ก่อน เราก็จะสามารถทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตในภูมิภาค
นั้น ๆ ให้ความสนใจในสินค้าของเรา

การทำ Net Zero ถึงแม้จะกระทบต้นทุนการผลิต แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ มันไม่ใช่ทางเลือก เพราะปัจจุบันโลกร้อนส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตแทบทุกมิติ ซึ่งโครงการ Decarbonize ของ NRF ถือเป็นยุทธศาสตร์สร้างความแตกต่างทางสินค้า และเมื่อผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าเราติดป้าย Net Zero ก็จะยิ่งให้ความสนใจ เรื่องการกระทบต้นแต่ผมมองว่าไม่ได้เพิ่มมาก ประมาณ 1% และเราไม่จำเป็นต้องเพิ่มราคาสินค้า เพราะมาร์จิ้นของบริษัทอยู่ประมาณ 30% การมีต้นทุนเพิ่มจึงไม่กระทบ Gross Profit Margin”

“แดน” กล่าวต่อว่า โครงการ Decarbonize ของ NRF เป็นการผสมผสาน 2 ขนาด คือ การใช้เทคโนโลยีที่ได้จากสตาร์ทอัพ 3-4 บริษัทในสหรัฐอเมริกา อินเดีย และประเทศยุโรป มาช่วยลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในซัพพลายเออร์ขนาดเล็ก เช่น เกษตรกรระดับครัวเรือน ส่วนซัพพลายเออร์ขนาดใหญ่หรือกลุ่มเกษตรกรขนาดใหญ่ NRF ใช้เทคโนโลยีที่เข้าไปลงทุนในบริษัทชื่อ Frontline BioEnergy ที่สหรัฐอเมริกา ที่สามารถรับการกำจัดขยะชีวมวล Biomass ได้ประมาณ 50 ตันต่อวัน

Advertisment

“สำหรับการทำงานกับกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่ทำเกษตร 3-5 ไร่ เราทำให้เขาเข้าถึงเรื่องอินทรีย์ให้ได้ และใช้ให้เทคโนโลยีไบโอชาร์ (BioChar) เพื่อกำจัดขยะชีวมวลในไร่ โดยไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากกระบวนการแปรรูปของเหลือสู่ชั้นบรรยากาศ แล้วนำผลผลิตไบโอชาร์ไปฝังลงสู่ดิน

ซึ่งเทคโนโลยีไบโอชาร์ไม่เพียงแค่ดักจับและกักเก็บคาร์บอนแล้ว แต่ยังสามารถเป็นวัตถุดิบชั้นดี ในการฟื้นฟูหน้าดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ดินสามารถกักเก็บและอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น จะเป็นส่วนช่วยในการลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรได้อีกนัยหนึ่ง นอกจากนั้น บริษัทจะได้ขายเป็นใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เราสร้าง ที่เราไม่สามารถจะซื้อคาร์บอนเครดิตธรรมดาได้”

ในปี 2566 NRF ได้จัดอบรมให้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลผลิตไบโอชาร์ เพื่อตั้งเป้าการลดการเผาที่ทำลายหน้าดิน และยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ไม่เพียงต้องการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม แต่อีกนัยหนึ่งยังเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ของเกษตรกร นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน และเกษตรกรท้องถิ่นที่เข้าอบรม เพื่อให้เข้าใจและนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในกระบวนการการเกษตร ทั้งยังเป็นการคุณค่าให้แก่สายอาชีพอีกด้วย

“แดน” กล่าวถึงโอกาสที่ได้จากการทำโครงการ Decarbonize ของ NRF ว่า ทำให้บริษัทมีสินค้าที่เป็น Net Zero ซึ่งจะช่วยดึงดูดลูกค้าได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ยังช่วยบริษัทสามารถลดจำนวนคาร์บอนมากกว่าที่ปล่อยออกไป มากไปกว่านั้นนวัตกรรมอื่นไบโอชาร์ยังสามารถต่อยอดได้หลายเรื่อง เช่น นำไปทำน้ำมันดิบ ส่วนผสมในการปูถนน เชื้อเพลิง เป็นต้น

“ตอนนี้หลาย ๆ องค์ที่ต้องการมุ่งสู่ Net Zero พยายามหาเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมแบบเปลี่ยนโลก แต่ผมมองว่าถ้าคิดมากไป มุ่งแต่ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ก็อาจไม่ทัน Net Zero ปี 2030 ดังนั้น จึงควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่ใช้ได้ตั้งแต่ตอนนี้ และเป็นโซลูชั่นที่ใช้ได้จริง”

นับว่า NRF เป็นอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารที่ใส่ใจในกระบวนการการผลิตที่มีคุณภาพ และยังเป็นผู้ผลิตที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนการดูแลใส่ใจพนักงานทุกระดับเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืนไปร่วมกัน

#NRF #UNGCNT #GCNTforum2023 #PartnershipForHumanCapital5.0