เศรษฐา โรดโชว์ 3 ประเทศ หารือผู้นำฝรั่งเศส-อิตาลี ขึ้นเวที Nikkei Forum

เศรษฐา โรดโชว์

นายกรัฐมนตรี เยือน 3 ประเทศ หารือประธานาธิบดี ฝรั่งเศส-นายกฯอิตาลี ขึ้นเวทีปาฐกถา Nikkei Forum Future ที่ญี่ปุ่น

วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจการบริหารเศรษฐกิจในประเทศ คู่ขนานเศรษฐกิจการค้ากับต่างประเทศ ของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน คิวแน่นตั้งแต่ต้นปี 2567 ทั้งภาคเหนือ อีสาน ใต้ รวมถึงการเยือนต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง

เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม ระหว่างวันที่ 15-19 ม.ค. นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) ประจำปี 2024 ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส โดยมีกำหนดพบหารือผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก

จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ วันที่ 3 ก.พ. 67 เดินทางไปยังกรุงโคลัมโบ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาอย่างเป็นทางการ มุ่งสานสัมพันธ์ทวิภาคีที่ใกล้ชิด ผลักดันความร่วมมือเพื่อประโยชน์ประชาชนทั้งสองประเทศ

และเข้าร่วมพิธีเฉลิมฉลองวันประกาศเอกราชสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ครั้งที่ 76 ในฐานะแขกเกียรติยศ และเดินทางกลับประเทศไทย ในวันที่ 4 ก.พ. 67

Advertisment

หลังจากที่เดินทางกลับจากการปฏิบัติภารกิจในกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว “เที่ยวใต้สุดใจ” 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 27-29 ก.พ. 67

ในเดือนมีนาคม 2567 เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 มี.ค. 67 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิด ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล แถลงวิสัยทัศน์ “IGNITE THAILAND, AVIATION HUB” เพื่อประกาศถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค

จากนั้น วันที่ 4 -6 มี.ค. 67 ประเดิมด้วยการเยือนประเทศออสเตรเลีย เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย มีการหารือกับภาคเอกชนเพื่อขยายการค้าการลงทุน โดยการเยือนออสเตรเลียของนายเศรษฐาถือเป็นการเยือนครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกฯ เมื่อเดือน ส.ค. 2566

หลังจากนั้น ในวันที่ 7 มี.ค. 67 เดินทางต่อไปประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี เข้าพบนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก่อนเข้ามีกำหนดการเข้าพบ นายโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และร่วมหารือกับภาคเอกชน จนถึงวันที่ 13 มี.ค.

Advertisment

ช่วงเดือนมกราคม ระหว่างวันที่ 15-19 ม.ค. 67 นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) ประจำปี 2024 ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส โดยมีกำหนดพบหารือผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก

หากนับเวลาหลังการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา นายกฯเศรษฐา เดินทางปฏิบัติต่างประเทศรวมแล้ว 14 ประเทศทั่วโลก

ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา 2 ครั้ง, กัมพูชา, ฮ่องกงและจีน, บรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ซาอุดีอาระเบีย, สปป.ลาว, ญี่ปุ่น, สมาพันธรัฐสวิส, ศรีลังกา, ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส และล่าสุดประเทศเยอรมนี

ในการแถลงวิสัยทัศน์ ‘IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง’ นายกฯเศรษฐากล่าวไว้ว่า ความขัดแย้งและปัญหาการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบดบังศักยภาพ บดบังแสงสว่างของประเทศไทย ตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ ความสงบและความสมัครสมานสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจกันของพวกเราทุกคน เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการที่เราจะเริ่มต้นให้ชาวโลกรู้ว่าแสงสว่างในประเทศไทยเกิดขึ้นแล้ว ประเทศไทยเปิดแล้ว

และในเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นอีกครั้งที่นายกรัฐมนตรีเดินสายต่างประเทศ หลังได้ลงพื้นที่ภายในประเทศอย่างหนักตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา

โดยระหว่างวันที่ 15-21 พ.ค. 2567 นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส พบกับนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ครั้งที่ 2 ในปีนี้ และการเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี และคณะ มีกำหนดการเยือนกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อนำคณะนักธุรกิจไทยร่วมงาน Thailand-France Business Forum & Roundtable ระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2567

การเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ และกิจกรรมคู่ขนาน ระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2567 ณ เมืองมิลาน และกรุงโรม

และการเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2567 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างมากในช่วง 3 เดือน ภายหลังการเดินทางเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 7-12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

โดยนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการพบหารือทวิภาคีกับนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ เพื่อติดตามผลการเยือน โดยเฉพาะในด้านการค้าการลงทุน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ Soft Power พร้อมทั้งนำคณะนักธุรกิจไทยร่วมงาน Thailand-France Business Forum & Roundtable ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการหารือระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศ ในห้วงการเยือน

หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งพบหารือทวิภาคีกับนางจอร์จา เมโลนี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระชับความร่วมมือในสาขาที่ไทยและอิตาลี ศักยภาพ อาทิ

1) ด้านพลังงานหมุนเวียน 2) การท่องเที่ยวเชิงกีฬา 3) วิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม 4) ด้านกลาโหม รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียน GI ในยุโรป การส่งเสริมธุรกิจ SMEs ด้านอวกาศ และความยั่งยืนทางอาหาร ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมีกำหนดการพบหารือกับภาคเอกชนรายใหญ่ระดับโลกของอิตาลี

และจะเชิญชวนให้ภาคเอกชนอิตาลีลงทุนในไทย โดยเฉพาะด้านแฟชั่น และ soft power ด้านการเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และพลังงาน ซึ่งรวมทั้งจะได้พบหารือกับประธาน the National Chamber of Italian Fashion องค์กรที่มีความสำคัญด้านแฟชั่นของอิตาลีอีกด้วย

สำหรับกำหนดการเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2567 ณ กรุงปารีส และการเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ และกิจกรรมคู่ขนาน ระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2567 ณ เมืองมิลาน และกรุงโรม มีภารกิจดังนี้

เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรีนำคณะนักธุรกิจไทยร่วมงาน Thailand-France Business Forum & Roundtable ซึ่งเป็นผลจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีฝรั่งเศส ในโอกาสการเดินทางเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 7-12 มีนาคม 2567

ทั้งนี้ การจัดงาน Thailand-France Business Forum & Roundtable เป็นการจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกัน และเชิญชวนให้ฝรั่งเศสลงทุนในไทยมากขึ้น และเป็นการเน้นย้ำความสัมพันธ์ที่ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมอย่างมาก ในช่วง 3 เดือน ภายหลังการเดินทางเยือนฝรั่งเศส ของนายกรัฐมนตรี

จากนั้นนายกรัฐมนตีและคณะ พบหารือ และร่วมรับประทานอาหารกลางวัน กับนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เพื่อติดตามผลการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะในด้านการค้าการลงทุน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ soft power

โดยเฉพาะด้าน Soft Power ผ่านการเยือนไทยของผู้บริหาร เมื่อเดือนเมษายน 2567 รวมถึงความก้าวหน้าในด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พลังงานสะอาด อวกาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการค้าการลงทุน

นายกรัฐมนตรีจะมีการพบหารือกับนาง Bénédicte Epinay ผู้อำนวยการใหญ่และ CEO องค์กร Comité Colber tเพื่อต่อยอดความร่วมมือด้าน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

การเยือนครั้งนี้ เชื่อว่าจะต่อยอดความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ไทยและฝรั่งเศสมีศักยภาพร่วมกัน และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการยกระดับความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส สู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ตามที่ระบุไว้ในแผนการ (Roadmap) การดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 2022-2024

เยือนสาธารณรัฐอิตาลี

กำหนดการ นายกรัฐมนตรีไทยจะพบหารือกับนางจอร์จา เมโลนี (Giorgia Meloni) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี พร้อมร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวัน และหารือส่งเสริมความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ที่ไทยและอิตาลีมีศักยภาพร่วมกัน พร้อมเชิญชวนให้อิตาลีลงทุนในไทย โดยเฉพาะ (1) ด้านแฟชั่นและ soft power (2) ด้านอาหารเเละเทคโนโลยีการเกษตร (3) พลังงานสะอาด (4) อวกาศ (5) วิทยาศาสตร์การเเพทย์เเละเภสัชกรรม (6) อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ (7) โครงการแลนด์บริดจ์

มีกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือในด้านที่ไทยและอิตาลีมีศักยภาพ อาทิ (1) ด้านพลังงานหมุนเวียน (2) การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (3) วิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม (4) ด้านกลาโหม

นอกจากนี้จะมีการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียน GI ในยุโรป การส่งเสริมธุรกิจ SMEs ด้านอวกาศ และความยั่งยืนทางอาหาร โดยผลักดันประเด็น สำคัญทางการค้าการลงทุน ดังนี้

(1) การยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยในเขตเชงเกน
(2) การเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป ให้สามารถสรุปภายในปี 2568 (ค.ศ. 2025)
(3) การให้สัตยาบันในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน (Partnership and Cooperation Agreement : PCA) ระหว่างไทย-สหภาพยุโรป
(4) การสมัครเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย

นอกจากการผลักดันการรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากอิสราเอลไปทำงานในอิตาลีในอนาคตแล้ว นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการพบกับเอกชน รายใหญ่ อาทิ นาย Carlo Capasa, Chairman of the National Chamber of Italian Fashion และนาย Attilio Fontana ผู้ว่าการแคว้นลอมบาร์เดียเข้าพบนายกรัฐมนตรี
รวมทั้ง รวมทั้งเตรียมการสำหรับเปิดงาน Thai-Italy Economic Seminar

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีพบหารือกับภาคเอกชนสำคัญ พร้อมเยี่ยมชมโรงงาน และหารือบริษัท Zegna (บริษัทเสื้อผ้าบุรุษ) เยี่ยมชมห้าง Rinascente สาขาเมืองมิลาน เยี่ยมชมโรงงานชีส Boni เยี่ยมชมโรงงานแปรรูปเนื้อ Italia Alimentari เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหารือสมาคมการออกแบบอุตสาหกรรม และเยี่ยมชมสตูดิโอและหารือบริษัท Bulgari (บริษัทเครื่องประดับ)

หารือบริษัทยักษ์ใหญ่

  • บริษัท Leitner (บริษัทเทคโนโลยีด้านการเกษตร)
  • ธนาคาร Intesa
  • บริษัท Leonardo (บริษัทด้าน aerospace การบิน และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
  • บริษัท Generali International (บริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี)
  • บริษัท ENI (บริษัทด้านพลังงาน)
  • บริษัท Barilla (บริษัทผลิตเส้นและซอสสปาเกตตี)
  • บริษัท Ducati (บริษัทรถจักรยานยนต์)
  • บริษัท Ferrero (บริษัทผลิตช็อกโกแลต)

จากนั้นนายกรัฐมนตรีมีกำหนดเดินทางมายังประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2567 ในฐานะไทยเป็นแหล่งลงทุนที่ใหญ่ และสำคัญที่สุดของญี่ปุ่นในอาเซียน เวทีดึงดูดนักลงทุนครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นที่สนใจติดตามของภาคเอกชนทั้งไทยและญี่ปุ่น

ดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่น

สำหรับการ่วมเวทีสำคัญ Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนญี่ปุ่น และดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้ามาในไทยมากขึ้น ในงานนี้ จะมีนักธุรกิจเอกชนญี่ปุ่่นเข้าร่วมฟังปาฐกถาของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

ในปีนี้หัวข้อหลักของการประชุม Nikkei Forum คือ Asian Leadership in an Uncertain World โดยนายกรัฐมนตรี จะนำเสนอใจความสำคัญในปาฐกถา เพื่อสะท้อนว่าการเมืองและเศรษฐกิจของไทยมี resilience สูงและยังมีโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้าง

ไทยและญี่ปุ่นยังคงเป็น trusted and true partners ผู้นำไทยมี วิสัยทัศน์กว้างไกล เสนอให้เอเชียมี collective leadership เพื่อก้าวข้ามสถานการณ์โลกที่ผันผวน ท้าทาย เพราะเศรษฐกิจเอเชียเข้มแข็งมีพลวัตสูงในเวลานี้ โดยเอเชีย ควรเร่งร่วมมือ 4 ด้าน คือ (1) การเชื่อมโยงด้านการค้าการลงทุนเพื่อเปิดโอกาสธุรกิจมากขึ้น (2) เสริมสร้าง ความยั่งยืนโดยเน้นเศรษฐกิจและพลังงานสีเขียว (3) การร่วมกันเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และ (4) การปรับกระบวนทัศน์ของระบบพหุพาคีใหม่

โดยกำหนดการสำคัญ นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาในการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29 (กล่าวปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษ) พร้อมให้สัมภาษณ์ Nikkei + Nikkei Asia และ TV Tokyo + BS TV Tokyo (รอยืนยัน)

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการพบหารือกับภาคเอกชนสำคัญ อาทิ

หารือกับผู้บริหารบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ด้าน Smart Electronics/BCG/ธุรกิจการค้าและสถาบันการเงิน (BOI อยู่ระหว่างทาบทาม)

โดยสิ่งที่คาดว่าจะได้จากการเดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้ทั้งฝรั่งเศส อิตาบีแบะญี่ปุ่น

การเดินทางเยือน 3 ประเทศในครั้ง นอกจากจะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นการแสวงหาโอกาสทางการค้าการลงทุนของประเทศไทย นำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ เพื่อกระจายรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง

ด้านนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเข้าร่วมและกล่าวปาฐกถาในการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29 ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนญี่ปุ่น และดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้ามาในไทยมากขึ้น ซึ่งในการประชุมนี้ ภาคธุรกิจญี่ปุ่นจะสนใจติดตามฟังปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีไทยเสมอ เนื่องจากไทยเป็นแหล่งลงทุนที่ใหญ่ และสำคัญที่สุดของญี่ปุ่นในอาเซียน ซึ่งหัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้คือ “Asian Leadership in an Uncertain World” โดยนายกรัฐมนตรีจะเน้นย้ำถึงความยืดหยุ่นในการเมืองและเศรษฐกิจของไทย และโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้าง